เมนู

อรรถกถาวิริยารัมภาทิวรรคที่ 7



อรรถกถาสูตรที่ 1



ในสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วีริยารมฺโภ ได้แก่ ความริเริ่มความเพียร คือสัมมัปปธาน
ซึ่งมีกิจ อธิบายว่า ความเป็นผู้มีความเพียรอันประคองไว้บริบูรณ์.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 1

อรรถกถาสูตรที่ 2



ในสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มหิจฺฉตา ได้แก่ ความโลภมาก ซึ่งท่านหมายกล่าว
ไว้ว่า ในธรรมเหล่านั้น ความมักมากเป็นไฉน ? ความปรารถนา
ยิ่ง ๆ ขึ้นไป แห่งภิกษุผู้ไม่สันโดษด้วยจีวรบิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัย อันเป็นเภสัชชปริกขาร ยิ่งขึ้น ๆ หรือด้วยกามคุณ 5
ความปรารถนา ความเป็นแห่งความปรารถนา ความมักมาก
ความกำหนัด ความกำหนัดมาก แห่งจิตเห็นปานนี้ใด นี้เรียกว่า
มหิจฉตา ความมักมาก.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 2

อรรถกถาสูตรที่ 3



ในสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อปฺปิจฺฉตา ได้แก่ ความไม่โลภ. บทว่า อปฺปิจฺฉสฺส
ได้แก่ผู้ไม่ปรารถนา ก็ในที่นี้ พยัญชนะ ดูเหมือนยังมีส่วนเหลือ
คือยังมีปรารถนาอยู่บ้าง ส่วนอรรถไม่มีส่วนเหลือ คือไม่ปรารถนา
เลย. จริงอยู่ บุคคลนั้นท่านเรียกว่า ผู้มีความปรารถนาน้อย เพราะ
ภาวะที่มีความปรารถนามีประมาณน้อยก็หามิได้ แต่ท่านเรียกว่า
มีความปรารถนาน้อย (มักน้อย) เพราะไม่มีความปรารถนา คือ
ภาวะ ที่ไม่มีความโลภ ที่เขาส้องเสพบ่อย ๆ นั่นแล.
อีกอย่างหนึ่ง ในที่นี้ พึงทราบความต่างกันดังนี้ว่า อตฺริจฺฉตา
ความปรารถนาเกิน ปาปิจฺฉตา ความปรารถนาลามก มหิจฺฉตา
ความมักมาก. ใน 3 อย่างนั้น ความไม่อิ่มในลาภของตนยังปรารถนา
ในลาภของผู้อื่น ชื่อว่า ความปรารถนาเกิน. สำหรับผู้ประกอบ
ด้วยความปรารถนาเกิดนั้น แม้ขนมสุกในภาชนะหนึ่ง เขาใส่ไว้ใน
ภาชนะของตน ย่อมปรากฏ เหมือนขนมที่สุกไม่ดี และเหมือนมีน้อย
ขนมนั้นนั่นแล เขาใส่ในภาชนะของคนอื่น ปรากฏเหมือนสุกดี
และเหมือนมีมาก. ความประกาศคุณที่ไม่มีอยู่ และความไม่รู้จัก
ประมาณในการรับ ชื่อว่า ความปรารถนาลามก. ความปรารถนา
ลามกแม้นั้น มาแล้วในอภิธรรม โดยนัยมีอาทิว่า คนบางคนในโลกนี้
เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้จักเราว่า เป็นผู้
มีศรัทธา. บุคคลผู้ประกอบด้วยความปรารถนาลามกนั้น ย่อม